Welcome everybody to blogger of Warunya Sridaoroek.

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559


Record8 17 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการทบทวนการเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องการทำกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมว่าแต่ละกิจกรรมนั้นได้อะไรบ้าง และอาจารย์ได้เน้นย้ำเรื่องบทบาทหน้าที่ของครูที่จะเป็นผู้จัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากกิจกรรมที่ครูได้นำมาให้เด็กทำ โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กไม่ใช่ผู้สอนเด็กทั้งหมด โดยสิ่งที่บ่งบอกว่าเด็กเกิดการเรียนรู้แล้วนั้นคือเด็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
          จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาและให้นักศึกษาออกแบบตัวเลข 0 - 9 คนละ 1 ตัวเลขซึ่งให้มีความคิดสร้างสรรค์ต่างจากตัวเลขเดิม ซึ่งฉันได้เลือกเลข 6 เพราะชอบเลข 6 และได้ออกแบบให้เป็นหัวช้างและงวงช้าง
จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษานำตัวเลขของตัวเองไปติดบนกระดานโดยเรียงเลข 0-9 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อนำมาแบ่งในการทำงานกลุ่มต่อไป และได้ถามถึงการออกแบบแต่ละคนว่าออกแบบมาจากอะไร หมายถึงอะไร


ซึ่งการออกแบบตัวเลขของเพื่อนแต่ละคนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยสรุปรวมๆ ได้ว่า การออกแบบตัวเลขให้เป็นสิ่งต่างๆนั้นมาจากการเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเทียบเคียง ดัดแปลงให้ต่างจากเดิม หรือจะเป็นการสื่อความรู้สึกต่างๆที่เรารู้สึกออกมาเป็นรูปภาพ ซึ่งการออกแบบของแต่ละคนนั้นจะมาจากประสบการณ์เดิมที่เราเคยพบเห็นมา หรือจะเป็นความรู้สึกขณะที่กำลังรู้สึกขณะวาดก็ได้
จากเดิมที่ได้แบ่งกลุ่มตามตัวเลข 0-9 ไว้แล้ว คราวนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาระบายสีตกแต่งตัวเลขของตัวเองให้สวยงามแล้วตัดตามตัวที่วาด แล้วแจกกระดาษแข็งคนละ 1 แผ่นเพื่อนำมาติดตัวเลขของแต่ละคนโดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกแบบว่าในกลุ่มของตนเองนั้นจะทำตัวเลขเหล่านี้ออกมาเป็นสื่อการสอนแบบใดที่ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องตัวเลข จำนวน ค่าของตัวเลขต่างๆ และเด็กต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ครั้งนี้ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้ทำการปรึกษากัน แล้วออกไปนำเสนอเพื่อให้อาจารย์ได้ให้คำปรึกษา

กลุ่มที่ 1 ทำเป็นภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต

กลุ่มที่ 2 ใช้ตัวเลขกำกับจำนวนโดยใช้ไม้ไอติมเป็นการแทนค่าจำนวน

กลุ่มที่ 3 นิทานตัวเลขมหัศจรรย์ (กลุ่มของดิฉันเอง)
โดยจะใช้ตัวละครเป็นตัวเลข 0 - 9 ที่คนในกลุ่มของเราได้ทำมาเป็นตัวดำเนินเรื่องและจะใช้ไม้ไอติมมาเป็นสื่อให้เด็กได้นับเลขไปพร้อมกับนิทานของเรา โดยจะมีซองใส่ไม้ไอติมตามจำนวนที่นิทานกำหนด

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้ในเรื่องการออกแบบจากการเปรียบเทียบจากสิ่งต่างๆ ที่เราเคยพบเจอมา แสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวนั้นสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ในฐานะที่เราเป็นครูเราควรมีความคิดสร้างสรรค์และหากิจกรรมที่เด็กได้คิดและได้หาคำตอบเพื่อนำมาสู่การเรียนรู้ต่อไป 
การประเมิน


ประเมินตนเอง
  - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
              - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น