Welcome everybody to blogger of Warunya Sridaoroek.

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record10 31 October 2016
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge) 
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการทบกวนการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
สรุปได้ว่า เด็กควรได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่นกิจกรรมที่หลากหลาย วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้เกิดความคิดริเริ่ม นำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กมีพัฒนาการที่เชื่อมโยงกันทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้ายอารมณ์ ด้านสังคม และสติปัญญา แล้วจะส่งผลให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และการเรียนรู้ต่างๆนั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและต้องตรงกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กด้วย
          ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ คือ กล่องลังกระดาษ ขวดน้ำ และกระป๋อง โดยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เอาไว้ใช้สอนผู้ปกครองทำได้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 1 อย่าง กลุ่มของดิฉันได้วัสดุคือกล่องกระดาษลังห้ามซ้ำกันในกลุ่ม สิ่งที่ดิฉันคิดคือ โต๊ะเขียนหนังสือจากกล่องกระดาษลัง นำมาส่งสัปดาห์ถัดไป

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมให้กับเด็กว่าการจัดกิจกรรมให้กับเด็กนั้นต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และตรงกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กสามารถนำไปใช้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก และรวมไปถึงการได้ฝึกกระบวนการคิดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำไปให้เด็กทำได้ด้วย

การประเมิน


ประเมินตนเอง
  - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง ไม่รบกวนเพื่อน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
              - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record9 24 October 2016

**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยมหาราช**

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559


Record8 17 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการทบทวนการเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องการทำกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมว่าแต่ละกิจกรรมนั้นได้อะไรบ้าง และอาจารย์ได้เน้นย้ำเรื่องบทบาทหน้าที่ของครูที่จะเป็นผู้จัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากกิจกรรมที่ครูได้นำมาให้เด็กทำ โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กไม่ใช่ผู้สอนเด็กทั้งหมด โดยสิ่งที่บ่งบอกว่าเด็กเกิดการเรียนรู้แล้วนั้นคือเด็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
          จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาและให้นักศึกษาออกแบบตัวเลข 0 - 9 คนละ 1 ตัวเลขซึ่งให้มีความคิดสร้างสรรค์ต่างจากตัวเลขเดิม ซึ่งฉันได้เลือกเลข 6 เพราะชอบเลข 6 และได้ออกแบบให้เป็นหัวช้างและงวงช้าง
จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษานำตัวเลขของตัวเองไปติดบนกระดานโดยเรียงเลข 0-9 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อนำมาแบ่งในการทำงานกลุ่มต่อไป และได้ถามถึงการออกแบบแต่ละคนว่าออกแบบมาจากอะไร หมายถึงอะไร


ซึ่งการออกแบบตัวเลขของเพื่อนแต่ละคนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยสรุปรวมๆ ได้ว่า การออกแบบตัวเลขให้เป็นสิ่งต่างๆนั้นมาจากการเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเทียบเคียง ดัดแปลงให้ต่างจากเดิม หรือจะเป็นการสื่อความรู้สึกต่างๆที่เรารู้สึกออกมาเป็นรูปภาพ ซึ่งการออกแบบของแต่ละคนนั้นจะมาจากประสบการณ์เดิมที่เราเคยพบเห็นมา หรือจะเป็นความรู้สึกขณะที่กำลังรู้สึกขณะวาดก็ได้
จากเดิมที่ได้แบ่งกลุ่มตามตัวเลข 0-9 ไว้แล้ว คราวนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาระบายสีตกแต่งตัวเลขของตัวเองให้สวยงามแล้วตัดตามตัวที่วาด แล้วแจกกระดาษแข็งคนละ 1 แผ่นเพื่อนำมาติดตัวเลขของแต่ละคนโดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกแบบว่าในกลุ่มของตนเองนั้นจะทำตัวเลขเหล่านี้ออกมาเป็นสื่อการสอนแบบใดที่ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องตัวเลข จำนวน ค่าของตัวเลขต่างๆ และเด็กต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ครั้งนี้ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้ทำการปรึกษากัน แล้วออกไปนำเสนอเพื่อให้อาจารย์ได้ให้คำปรึกษา

กลุ่มที่ 1 ทำเป็นภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต

กลุ่มที่ 2 ใช้ตัวเลขกำกับจำนวนโดยใช้ไม้ไอติมเป็นการแทนค่าจำนวน

กลุ่มที่ 3 นิทานตัวเลขมหัศจรรย์ (กลุ่มของดิฉันเอง)
โดยจะใช้ตัวละครเป็นตัวเลข 0 - 9 ที่คนในกลุ่มของเราได้ทำมาเป็นตัวดำเนินเรื่องและจะใช้ไม้ไอติมมาเป็นสื่อให้เด็กได้นับเลขไปพร้อมกับนิทานของเรา โดยจะมีซองใส่ไม้ไอติมตามจำนวนที่นิทานกำหนด

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้ในเรื่องการออกแบบจากการเปรียบเทียบจากสิ่งต่างๆ ที่เราเคยพบเจอมา แสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวนั้นสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ในฐานะที่เราเป็นครูเราควรมีความคิดสร้างสรรค์และหากิจกรรมที่เด็กได้คิดและได้หาคำตอบเพื่อนำมาสู่การเรียนรู้ต่อไป 
การประเมิน


ประเมินตนเอง
  - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
              - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record7 10 October 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการทบทวนความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือการทำงานของสมอง ที่ได้ทำการคิด คิดอย่างอิสระ และคิดแตกต่างจากเดิม โดยการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีครูเป็นผู้จัดให้เด็ก การจัดกิจกรรมต้องให้เด็กได้คิดต้องมีประเด็นที่หลากหลาย
การเรียนรู้ของเด็ก

และทบทวนองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการจะมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • ความคิดริเริ่ม
  • ความคิดคล่องแคล่ว
  • ความคิดยืดหยุ่น
  • ความคิดละเอียดละออ
จากนั้นอาจารย์ได้ให้พวกเราทำกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มโดยทำกิจกรรมทีละฐานเมื่อทำเสร็จแล้วก็วนไปจนครบทั้ง 4 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเป่าสีฟองสบู่
เป็นกิจกรรมที่ใช้สีผสมกับฟองสบู่จึงทำให้เกิดฟองได้และเป่าสีออกมาเป็นฟองเมื่อฟองแตกจะกลายเป็นสีบนกระดาษอย่างสวยงาม
ภาพกิจกรรม







กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประดิษฐ์แมลง
เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาประดิษฐ์แมลงต่างๆจากแกนกระดาษทิชชู่ โดยการเจาะรูที่แกนกระดาษทิชชู่แล้วใช้เชือกร้อยเพื่อให้แมลงสามารถบินได้ จากนั้นใช้กระดาษแข็งวาดเป็นรูปแมลงแล้วติดกับแกนกระดาษทิชชู่
ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพิมพ์มือเป็นผีเสื้อ
เป็นกิจกรรมที่ใช้สีทาลงบนฝามือทั้งสองแล้ววางทับลงไปบนกระดาษแล้วตัดตามรอย จากนั้นก็ตกแต่งผลงานให้สวยงาม แล้วตัดกระดาษเป็นเส้นๆ นำมาตัดบริเวณปีกของผีเสื้อทั้งสองข้าง เพื่อทำให้ปีกสามารถขยับได้
ภาพกิจกรรม



กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ
เป็นกิจกรรมที่ให้ใช้จานกระดาษทำเป็นสื่อหรืออะไรก็ได้คนละ 1 ชิ้น และมีกติกาว่าต้องเกี่ยวข้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และห้ามซ้ำกับของเพื่อนในห้อง ซึ่งของดิฉันทำเป็นสื่อการสอนเรื่องฤดูกาล แต่จานกระดาษไม่พอจึงทำได้ไม่ครบทั้ง 4 ฤดูกาล

เมื่อทำครบทั้ง 4 กิจกรรมแล้วอาจารย์ได้สรุปกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง และได้ดูผลงานของนักศึกษาทุกคนด้วย

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           ได้รับควาามรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กโดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมให้เด็ก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เขียนแผนการจัดประสบการณ์และนำไปให้เด็กปฏิบัติได้ รวมไปถึงได้ทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากมายทำให้ได้รับความรู้และนำไปสู่การประยุกต์ให้เข้ากับเด็กปฐมวัยได้เช่นกัน
การประเมิน
ประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลาพอดี แต่งกายเรียนร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมทุกกิจกรรม และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำมากมายและมีความเป็นกันเอง