Record2 5 September 2016
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
จากนั้นอาจารย์ได้เปิด วีดีโอให้นักศึกษาดูเป็นวีดีโอขำๆ เพื่อผ่อนคลายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียนการสอน คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อชมคลิป >> https://www.youtube.com/watch?v=u06GqlNiJUY <<
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น
• กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
• ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
• ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
• สำรวจ จับต้องวัตถุ
• ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive
Play)
• อายุ 1 ½ - 2 ปี
• การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
• เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic
Play)
• 2 ขวบขึ้นไป
• สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
• เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
• ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด
คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
• การเล่นกลางแจ้ง
• การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
• การเล่นตามมุมประสบการณ์
• การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
• การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ
และเล่นได้หลายวิธี
• ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
• เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
1. สภาวะการเรียนรู้
• เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
• การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
• การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
• การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
• ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
• กระบวนการเรียนรู้
• กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
• เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
• การจำแนกอย่างมีเหตุผล
• ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
• ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
• มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
• มีการสรุปท้ายกิจกรรม
ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม...
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม Maeshmallow Tower
เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5-6 คน แล้วอาจารย์แจกอุปกรณ์ คือ ดินน้ำมัน กระดาษ และไม้จิ้มฟัน ซึ่งใช้วิธีการใดก็ได้ต่อขึ้นไปให้สูงที่สุดโดยใช้อุปกรณ์ที่อาจารย์แจกให้ โดยอาจารย์ให้ทำทั้งหมด 3 รอบ รอบที่1 ห้ามคุยกัน โดยต่างคนต่างทำ ซึ่งในรอบนี้กลุ่มเราทำได้เพียง 34 cm. เพราะไม่มีการพูดคุยและวางแผนกัน รอบที่2 ให้มีคนพูดได้1คนเป็นคนสั่งการแล้วให้เพื่อนในกลุ่มทำตาม ในครั้งนี้กลุ่มของพวกเราทำได้ 52 cm. เพราะมีคนคิดวิธีการและได้ตกลงกัน รอบสุดท้ายเป็นการปรึกษากันและทุกคนสามารถพูดได้ ในรอบนี้กลุ่มของพวกเราทำได้ 65 cm. ซึ่งมากกว่าทุกรอบ แสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันนั้นต้องมีการพูดคุยปรึกษากันจึงจะปรสบความสำเร็จ
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ
เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาประดิษฐ์เรือที่สามารถบรรทุกของให้ได้มากที่สุด โดยมีอุปกรณ์คือ กระดาษ 1 แผ่น หลอด 4 อัน และยาง 4 เส้น โดยใช้วิธีการใดก็ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้กลุ่มของพวกเราบรรทุกของได้น้อยเพราะเรือของเราไม่แข็งแรง 5555 แต่ก็ได้ความสามัคคีและมีความคิดสร้างสรรค์ไปอีกแบบ
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมดีไซเนอร์ระดับโลก
เป็นกิจกรรมที่ให้คนในกลุ่มได้ช่วยกันออกแบบชุดให้นงแบบประจำกลุ่ม โดยใช้หนังสือพิมพ์และเทปกาว เป็นกิจกรรมที่สนุกที่สุดเพราะทุกคนได้ช่วยกันทำชุดในเวลาที่จำกัด กลุ่มของเราก็ทำได้ทันเวลา และออกมาในแบบที่พวกเราต้องการ ไปดูแต่ละกลุ่มกันเลยว่าจะสวยงามขนาดไหน ><
ภาพกิจกรรม
ความรู้ที่ได้และการนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเล่นเพื่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และทฤษฎีต่างๆ รวมไปถึงได้ทำกิจกรรมมากมาย ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมเหล่านั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กๆ ให้ได้รับประสบการณ์อีกด้วย เช่น กิจกรรมสร้าง Tower ก็สามารถนำไปเป็นกิจกรรมให้เด็กๆเล่นได้ เป็นการพัฒนาความคิดของเด็กๆ ยังทำให้เด็กๆเกิดประสบการณ์ และช่วยพัฒนากระบวณการคิดได้อีกด้วย
การประเมิน
ประเมินตนเอง - แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน และเป็นกันเองมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น