Welcome everybody to blogger of Warunya Sridaoroek.

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

Record5 26 September 2016

สัปดาห์สอบกลางภาคไม่มีการเรียนการสอน
(Midterm exam)

Record4 19 September 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          วันนี้อาจารย์ติดประชุมจึงให้งานไว้ให้นักศึกษาทำ เป็นงานกลุ่ม 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรมที่สอดคล้อง STEM & STEAM ลงในตาราง และนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559


Record3 12 September 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          ในวันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยพูดคุยกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ซึ่งวันนี้จะมีความพิเศษคือ วันนี้เรามาเรียนที่ตึก 34 และเรียนรวมกัน 2 เซค ทั้งหมด 60 คน ได้เจอเพื่อนๆต่างเซคก็มีความสนุกไปอีกแบบหนึ่ง จากนั้นอาจารย์ก็พานักศึกษาร้องเพลงโดยการทวนเพลงเดิมที่เคยสอน ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนการสอนในวันนี้ที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับผีเสื้อ และทำโทษเพื่อนที่มาสายโดยการเต้นให้เพื่อนดู >< 




STEM / STEAM Education
STEM” คืออะไร
(ชลาธิป สมาหิโต: 2557)
• เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
• นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
• เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
• Science
• Technology
• Engineering
• Mathematics
Science (วิทยาศาสตร์)
• การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
• เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี)
• วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
• สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
• ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
• ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
• กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
• ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
• วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
• เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
• ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
• เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
ทุกเวลาอีกด้วย
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
• “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
• การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
• ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น

STEAM Education
• การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
• เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
• Science
• Technology
• Engineering
• Art
• Mathematics
    อาจารย์ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมว่าแต่ละกิจกรรมนั้นสามารถบูรณาการกับการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมใดได้บ้างโดยในหนึ่งกิจกรรมนั้นสามารถเป็นการเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้มากกว่าหนึ่งประสบการณ์
 จากนั้นอาจารย์ก็ได้พานักศึกษาทำกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรมโดยแต่ละกิจกรรมนั้นจะบูรณาการระหว่าง STEAM เข้ากับกิจกรรม โดยกิจกรรมหนึ่งๆ นั้นสามารถให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากกว่าหนึ่งอย่าง
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตกแต่งจานกระดาษ

เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาตกแต่งจานกระดาษให้เป็นรูปผีเสื้อ โดยมีอุปกรณ์คือ จานกระดาษ ไม้ไอติม และสีเทียน โดยให้นักศึกษาตกแต่งตามจินตนาการ และสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ให้ได้มากที่สุด เช่น การตกแต่งจานสีนี้ เด็กจะได้ทำกิจกรรมศิลปะ รวมไปถึงได้ความรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ด้วยในเรื่องของลักษณะของผีเสื้อ การเจริญเติบโตของผีเสื้อ เป็นต้น

ภาพกิจกรรม



กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างกรงผีเสื้อ

เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อขึ้นจาก กิ่งไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือสิ่งที่เราเตรียมมา ฯลฯ และอาจารย์มีเชือกและผ้าคลุมให้

ภาพกิจกรรม




กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างวัฏจักรผีเสื้อ

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานที่สุด เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความปราณีตในการทำ โดยให้เราสร้างวัฏจักรผีเสื้อออกมาเป็นวีดีโอสั้นๆ ด้วยโปรแกรม Stop motion โดยให้เราใช้ดินน้ำมันปั้นเป็นตัวหนอน ดักแด้ ฯลฯ เมื่อปั้นเสร็จแล้วก็นำมาทำวีดีโอเพื่อแสดงวัฏจักรของผีเสื้อ และใช้กรงผีเสื้อที่เราสร้างขึ้นมานั้นมาเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก ไปดูความน่ารักของกลุ่มเรากันเลย ><



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง STEM และ STEAM ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมให้กับเด็กในเรื่องของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะ ซึ่งสามารถนำสิ่งต่างๆที่เด็กต้องการจะเรียนรู้มาประยุกต์เป็นกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ให้เด็ก ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับความรู้อย่างมากที่สุด กิจกรรมในวันนี้ยังทำให้ได้เรียนรู้การทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้ทำ และได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มสร้างทักษะการทำงานในสังคม และสร้างความสามัคคีอีกด้วย

การประเมิน

ประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ตั้งใจเรียน 
               ตั้งใจฟัง และตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินาจารย์ผู้สอน
          - อาจารย์ใจดี ตั้งใจสอนและเตรียมกิจกรรมมาดีมาก มีความเป็นกันเอง

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559




Record2 5 September 2016


เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการ Link blog ของนักศึกษาแต่ละคน 



จากนั้นอาจารย์ได้เปิด วีดีโอให้นักศึกษาดูเป็นวีดีโอขำๆ เพื่อผ่อนคลายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียนการสอน คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อชมคลิป >>  https://www.youtube.com/watch?v=u06GqlNiJUY  <<

การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์



การเล่น
         • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
         • ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
        • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
      1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส  (Sensorimotor Play)
        • สำรวจ จับต้องวัตถุ
        • ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
     2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
        • อายุ 1 ½ - 2 ปี
        • การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
        • เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
      3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
         • 2 ขวบขึ้นไป
         • สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
         • เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
         • ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
         • การเล่นกลางแจ้ง
         • การเล่นในร่ม
     การเล่นในร่ม
         • การเล่นตามมุมประสบการณ์
         • การเล่นสรรค์สร้าง
     การเล่นสรรค์สร้าง
         • การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
         • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
         • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
     องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
         1. สภาวะการเรียนรู้
         • เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
         • การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
         • การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
         • การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
         • การเรียนรู้เหตุและผล
        2. พัฒนาการของการรู้คิด
         • ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
        3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
         • กระบวนการเรียนรู้
         • กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
         • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
         • การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
         • การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
        • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
        • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
         • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
         • มีการสรุปท้ายกิจกรรม


ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม...


กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม Maeshmallow Tower

เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5-6 คน แล้วอาจารย์แจกอุปกรณ์ คือ ดินน้ำมัน กระดาษ และไม้จิ้มฟัน ซึ่งใช้วิธีการใดก็ได้ต่อขึ้นไปให้สูงที่สุดโดยใช้อุปกรณ์ที่อาจารย์แจกให้ โดยอาจารย์ให้ทำทั้งหมด 3 รอบ รอบที่1 ห้ามคุยกัน โดยต่างคนต่างทำ ซึ่งในรอบนี้กลุ่มเราทำได้เพียง 34 cm. เพราะไม่มีการพูดคุยและวางแผนกัน รอบที่2 ให้มีคนพูดได้1คนเป็นคนสั่งการแล้วให้เพื่อนในกลุ่มทำตาม ในครั้งนี้กลุ่มของพวกเราทำได้ 52 cm. เพราะมีคนคิดวิธีการและได้ตกลงกัน รอบสุดท้ายเป็นการปรึกษากันและทุกคนสามารถพูดได้ ในรอบนี้กลุ่มของพวกเราทำได้ 65 cm. ซึ่งมากกว่าทุกรอบ แสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันนั้นต้องมีการพูดคุยปรึกษากันจึงจะปรสบความสำเร็จ
ภาพกิจกรรม



กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ

เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาประดิษฐ์เรือที่สามารถบรรทุกของให้ได้มากที่สุด โดยมีอุปกรณ์คือ กระดาษ 1 แผ่น หลอด 4 อัน และยาง 4 เส้น โดยใช้วิธีการใดก็ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้กลุ่มของพวกเราบรรทุกของได้น้อยเพราะเรือของเราไม่แข็งแรง 5555 แต่ก็ได้ความสามัคคีและมีความคิดสร้างสรรค์ไปอีกแบบ
ภาพกิจกรรม







กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมดีไซเนอร์ระดับโลก

เป็นกิจกรรมที่ให้คนในกลุ่มได้ช่วยกันออกแบบชุดให้นงแบบประจำกลุ่ม โดยใช้หนังสือพิมพ์และเทปกาว เป็นกิจกรรมที่สนุกที่สุดเพราะทุกคนได้ช่วยกันทำชุดในเวลาที่จำกัด กลุ่มของเราก็ทำได้ทันเวลา และออกมาในแบบที่พวกเราต้องการ ไปดูแต่ละกลุ่มกันเลยว่าจะสวยงามขนาดไหน ><
ภาพกิจกรรม










ความรู้ที่ได้และการนำไปประยุกต์ใช้
            ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเล่นเพื่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และทฤษฎีต่างๆ รวมไปถึงได้ทำกิจกรรมมากมาย ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมเหล่านั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กๆ ให้ได้รับประสบการณ์อีกด้วย เช่น กิจกรรมสร้าง Tower ก็สามารถนำไปเป็นกิจกรรมให้เด็กๆเล่นได้ เป็นการพัฒนาความคิดของเด็กๆ ยังทำให้เด็กๆเกิดประสบการณ์ และช่วยพัฒนากระบวณการคิดได้อีกด้วย
การประเมิน
          ประเมินตนเอง - แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
          ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรม
          ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน และเป็นกันเองมาก