Welcome everybody to blogger of Warunya Sridaoroek.

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record14 30 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge) 
          เนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการสรุปการเรียนทั้งหมดมาทั้งเทอม ตรวจสอบงานที่ค้างคาของแต่ละคน และแจกปากกาสีให้กับทุกคนพร้อมกับแจกข้อสอบ Take home เพื่อเป็นข้อสอบปลายภาค รวมไปถึงสรุปใบปั๊มเข้าเรียนเพื่อให้รางวัลเด็กดี




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ 
         ได้ทบทวนการเรียนการสอนตลอดทั้งเทอมที่ผ่านมา และได้รับข้อสอบปลายภาคเพื่อเป็นคะแนนสอบ

การประเมิน
ประเมินตนเอง
        - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
        - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและพูดสรุปการเรียนให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record13 21 November 2016

เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge) 
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการสนทนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ผ่านมาในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาบวกกับความรู้ใหม่ที่อาจารย์ได้เพิ่มเติมให้
          จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาจัดโต๊ะชิดมุมห้องให้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษายืนเป็นวงกลมแล้วอาจารย์ร้องเพลงให้นักศึกษาเดินเป็นวงกลมไปรอบๆ พร้อมกับทำท่าทางด้วย เป็นการสาธิตวิธีการจับกลุ่มอีกหนึ่งวิธี เช่น พูดว่ารถจักรยานชนกับรถกะบะรวมกันได้กี่ล้อก็จับกลุ่มตามจำนวนเท่านั้น เป็นต้น 

          เมื่อจับกลุ่มได้แล้วอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษากลุ่มละ 3 แผ่น กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้นักศึกษาทำคือ อาจารย์กำหนดหัวเรื่องมาให้ว่าถ้าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดพูดได้พวกเราจะสื่อออกมาในรูปแบบของนิทานได้อย่างไร โดยให้ทุกคนในกลุ่มได้เป็นคนแสดงบทบาทสมมติ โดยเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มนั้นก็มีการสื่อสารไปในหลายรูปแบบ

กลุ่มที่ 1 เรื่องถ้าฉันเดินได้


          เป็นนิทานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นหญ้าแฝกไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ หญ้าแฝกจึงอยากจะไปไหนมาไหนกับเพื่อนๆบ้าง เพื่อนจึงช่วยดึงหญ้าแฝกออกมาจากดินแต่ไม่นานหญ้าแฝกก็ค่อยๆ อ่อนแรง เพื่อนๆ เห็นดังนั้นจึงพาหญ้าแฝกกลับไปที่เดิม หญ้าแฝกจึงรู้ว่าที่ที่เหมาะสมกับตนคือในดินเท่านั้น แต่เราก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ถ้าเราเป็นตัวของตัวเองอยู่ในที่ที่เหมาะสมกับเรา เราก็จะมีความสุขและเป็นตัวของตัวเองได้ ไม่ควรอยากเป็นเหมือนคนอื่นๆ

กลุ่มที่ 2 ยีราฟผู้กระหายน้ำ
          เป็นนิทานที่อิงสุภาสิตของไทยที่ว่า หวังน้ำบ่อหน้า โดยแสดงออกมาเป็นยีราฟผู้กระหายน้ำและเดินไปที่บ่อน้ำบ่อแรกแต่มีน้ำน้อยจึงกลัวว่าจะไม่อิ่ม จึงเดินไปที่บ่อน้ำบ่อที่สองก็ยังไม่พอใจ จึงเดินไปที่บ่อน้ำบ่อที่สาม แต่ตอนนี้ยีราฟเริ่มจะอ่อนแรงเพราะเหนื่อยจากการเดินทาง แต่เมื่อถึงบ่อที่สามน้ำในบ่อกับไม่มีเหลืออยู่แล้วจึงต้องกลับไปกินน้ำบ่อแรก แต่กว่าจะถึงยีราฟก็เหนื่อยและอ่อนแรงมากแล้ว
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ไม่ควรหวังพึ่งน้ำบ่อหน้า ควรพอใจในสิ่งที่มีอยู่

กลุ่มที่ 3 เรื่องป่ามหัศจรรย์


          เป็นนิทานที่สื่อออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตต่างๆพูดได้ มีพญานกออกหาอาหารสิ่งแรกที่เจอคือแอปเปิ้ลแต่แอปเปิ้ลได้พูดร้องขอชีวิต พญานกสงสารจึงได้ไว้ชีวิต จึงไปหาอาหารที่อื่นและได้ไปเจอสิ่งมีชีวิตต่างๆ แต่สิ่งมีชีวิตพวกนั้นก็ได้ร้องขอชีวิตจนทำให้พญานกหิวและอ่อนแรง เมื่อเสือเห็นดังนั้นจึงสงสารพญานกจนเสือต้องไปร้องขอผู้วิเศษเสกให้สิ่งมีชีวิตกลับมาพูดไม่ได้ดังเดิม
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ทุกสิ่งบนโลกล้วนแต่มีความพอดี หากมีสิ่งใดผิดไปอาจทำให้หลายๆสิ่งเดือดร้อนและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด

กลุ่มที่ 4 เรื่องเพื่อนรัก
           เป็นนิทานที่มีตัวละครเป็นสัตว์ 5 ตัวซึ่งเป็นเพื่อนรักกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา อยู่มาวันหนึ่ง หนึ่งในเพื่อนรักกลุ่มนี้คือสิงโตได้ไปกินน้ำในบ่อน้ำวิเศษทำให้สิงโตพูดได้และบอกกับเพื่อนๆว่าตนพูดได้ตนต้องเป็นใหญ่ที่สุด ทำให้เพื่อนๆ ไม่พอใจเป็นอย่างมากแต่ก็ต้องทำตามที่สิงโตสั่ง แล้ววันหนึ่งเพื่อนรักทั้ง4ตัวก็ได้ไปเจอแม่น้ำและได้บังเอิญกินน้ำทำให้พูดได้เหมือนกับสิงโต จึงกลับมาหาสิงโตและได้บอกกับสิงโตว่าเป็นเพื่อนกันต้องช่วยเหลือกันไม่ใช่เอาเปรียบกันแบบนี้
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อยู่ร่วมกันในสังคมไม่ควรเห็นแก่ตัวและช่วยเหลือกัน

กลุ่มที่ 5 เรื่องเจ้าหญิงกบ


           เป็นนิทานที่แสดงให้เห็นว่าการมองคนที่ภายนอกนั้นไม่ดี ดูใจคนควรดูไปนานๆ เช่นเดียวกับที่เจ้าชายเลือกที่จะหนีคู่หมั้นที่พ่อแม่หาให้ไปรักกับเจ้าหญิงกบที่พึ่งเจอกัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ไม่ควรไว้ใจใครง่ายๆ ควรดูกันไปนานๆ

         จากนั้นอาจารย์ก็ได้แบ่งกลุ่มอีกครั้งโดยไม่ให้ซ้ำกันในกลุ่มแรก เพื่อเป็นการฝึกการทำงานร่วมกับคนอื่นๆด้วย โดยในครั้งนี้สื่งที่อาจารย์ให้ทำคือ การใช้ส่วนต่างๆในร่างกายเป็นเครื่องดนตรีประกอบเพลง 1 เพลง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกายไม่ให้ซ้ำกันกับคนในกลุ่ม

เพลง นกกระจิบ

เพลง บ้านของฉัน

เพลง อาบน้ำ ซู่ ซ่า

เพลง โอ้ทะเลแสนงาม

เพลง ขอใจเธอแลกเบอร์โทร

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ 
          ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดกลุ่มเด็กโดยใช้เพลงในการจัด และยังได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกมาเป็นนิทาน พร้อมกับยังได้ใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นเสียงดนตรีประกอบเพลง ทำให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถนำไปสอนเด็กๆได้ โดยผ่านกิจกรรมนิทาน หรือเพลง เป็นต้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง
        - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
        - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record12 14 November 2016
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge) 
          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการสนทนาถึงบทเรียนที่ผ่านมาในสัปดาห์ก่อนๆ ว่าที่ผ่านมานั้นเราได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์อย่างไรบ้างเป็นการทบทวนบทเรียนและความรู้ไปในตัว ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดคล่องแคล่วซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ คือ การให้เราคิดถึงภูเขา เมื่อนึกถึงภูเขาเราจะนึกถึงอะไรได้บ้าง เช่น เส้นโค้ง สามเหลี่ยม สีเขียว ฯลฯ ซึ่งจะแบ่งออก 2 กลุ่มคือ การเทียบเคียง และตามความเป็นจริง
          จากนั้นอาจารย์ก็ได้กำหนดคำนำหน้าขึ้นมาแล้วให้นักศึกษาต่อคำที่กำหนด เช่น กะ,กระ กะละมัง กระโดด เป็นต้น ทำให้เราได้ฝึกความคิดคล่องแคล่วที่ต้องคิดได้เร็วและคิดหลากหลาย
           ต่อมาอาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องการบูรณาการการคิดแบบสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหว ซึ่งกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นจะนำมาจัดกิจกรรมได้นั้นมีดังนี้

      - การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะเพลง จะเคลื่อนไหวช้าหรือเร็วนั้นจะเป็นไปตามจังหวะทำนองเพลง ซึ่งในกิจกรรมนี้เด็กจะได้มีความคิดสร้างสรรค์คือ การออกแบบท่าทางตามจินตนาการของเด็กเอง
      - การเคลื่อนไหวคำบรรยาย เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบรรยายของครูในหน่วยที่เราเรียน โดยกิจกรรมนี้เด็กจะได้จินตนาการท่าทางตามคำบรรยายของครูอย่างอิสระ
      - การเคลื่อนไหวตามคำสั้ง เป็นการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง หรือ ตามคำสังที่ครูได้สร้างขึ้นเพื่อสร้างความจำให้แก่เด็ก กิจกรรมนี้เด็กจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจินตนาการท่าทางต่างๆที่เด็กๆชอบ
      - การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เป็นการฝึกความเป็นผู้นำไปในตัว ซึ่งกิจกรรมนนี้จะมีผู้นำหนึ่งคนและให้เด็กๆ คนอื่นทำท่าทางตาม โดยกิจกรรมนี้เด็กที่เป็นผู้นำก็จะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ท่าทางที่แสดงออกมาให้เพื่อนทำตามนั่นเอง
      - การเคลื่อนไหวตามความจำ กิจกรรมนี้ครูจะสร้างข้อตกลงก่อนว่าเมื่อครูทำเช่นนี้ให้เด็กๆทำอะไร และเด็กๆจะได้จินตนาการการเคลื่อนไหวในแบบที่เด็กๆอยากจะแสดงออกมา
      - การเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์ เป็นการเคลื่อนไหวโดยมีอุปกรณ์ให้เด็กใช้ในการเคลื่อนไหวด้วย เด็กจะได้จินตนาการให้อุปกรณ์นั้นๆเคลื่อนไหวไปในระดับต่างๆ ตามความคิดของเด็ก
           กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมแบบกลุ่มที่ให้เราคิดกิจกรรมการสอนความคิดสร้างสรรค์ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยกิจกรรมเคลื่อนไหวนั้นจะสามารถแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 6 ประเภท คือ
      - การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
      - การเคลื่อนไหวคำบรรยาย
      - การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
      - การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
      - การเคลื่อนไหวตามความจำ
      - การเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์




กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง

กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม

กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวคำบรรยาย
กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวตามความจำ
กลุ่มที่ 6 การเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์

ความรู้ที่ได้รับและการไปประยุกต์ใช้ 
           ได้ทบทวนการเรียนการสอนความคิดสร้างสรรค์แต่ละสัปดาห์ทำให้เราได้ทบทวนความรู้และได้ความรู้ใหม่ๆ มาจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้ และยังได้ฝึกการจัดกิจกรรมที่บูรณาการระหว่างกิจกรรมการเคลื่อนไหวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ซึ่งได้คิดกิจกรรมออกมาได้ดีและสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กๆ ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเต็มที่ต่อไป

การประเมิน

ประเมินตนเอง
  - เข้าเรียนตรงเวลาได้รับการปั๊มใบเข้าเรียน แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ 
ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมกลุ่ม
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
              - เพื่อนๆ แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
              - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด